วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613-Weekly Journal] Week 7: M-commerce

Week 7: December 21, 2010


M-commerce


         มือถือเป็นเทคโนโลยีอื่นชิ้นหนึ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ด้วยขนาดที่เล็ก กะทัดรัด มือถือจึงติดตัวไปกับผู้คนตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบัน มีการพัฒนา M-commerce คือการใช้บริการต่างๆผ่านทางมือถือ มากขึ้น 


เหตุผลที่พัฒนา M-Commerce


- Ubiquity มือถือเป็นที่แพร่หลาย ใช้กันอยู่ทั่วไป
- Convenience ใช้บริการผ่านมือถือสะดวกกว่า การไปที่ร้านจริง หรือหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บริการ
- Instant Connectivity รวดเร็วในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ท อินทราเน็ท
- Personalization มือถือถูกออกแบบมาเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามใจชอบ
- Localization of products and service มือถือสามารถใช้ได้ทุกที เพราะมี GPS

ลักษณะ Driver ของ Mobile computing และ M-commerce

- Widespread availability of mobile devices มือถือใช้กันทั่วไป
- No need for a PC ไม่ต้องหาคอมพิวเตอร์ หรือใช้ PC ในการเปิดมือถือ ซึ่งต้องต้องเวลา แต่มือถือเปิดได้ทันที
- Headset Culture แนวโน้มวัฒนธรรม ผู้คนเริ่มใช้มือถือมากขึ้น ใช้บริการผ่านมือถือมากยิ่งขึ้น
- Declining prices, increased functionalities แนวโน้มมือถือ ราคาจะลดลง แต่ความสามารถมือถือมีมากยิ่งขึ้น
- Improvement of bandwidth เครือข่ายการเชื่อต่อผ่านมือถือ เช่น 3G, 3.5G มีการพัฒนาต่อไปมากขึ้น
 

โครงสร้างพื้นฐานของ Mobile Computing 
     - WAP (Wireless Application Protocal) เป็นมาตรฐานของการเชื่อต่อระหว่างความสามารถโทรศัพท์มือถือและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในมือถือ
     - โปรแกรมภาษาที่ใช้ในการพัฒนา เช่น WML,XHTML
     - มือถือ Software ที่ใช้ในมือถือ เช่น JAVA ME 

     - Browsers ในมือถือที่ใช้ เช่น Windows Mobile, Android

               -> "HTML5" การใช้มือถือตามปกติจะต้องมีโปรแกรม เช่น Flash ซึ่ง โปรแกรมเหล่านี้จะต้องมีการ Download หากไม่มีโปรแกรม และต้องคอยอัพเดทตลอดเวลา แต่ HTML5 เป็นการใช้การ Coding (ใช้การเขียนเป็นภาษา coding) แทน ซึ่งไม่จำเป้นต้องคอยอัพเดท หรือ ดาวน์โหลดอีกหลายๆครั้ง

Mobile Computing Basic Terminology

     -> WiMax  คือ Wireless ระดับใหญ่ โดยใช้เสาต้นใหญ่ส่งสัญญาณ Wireless เพื่อให้ครอบคลุมในพื้นที่บริเวณกว้าง
     -> RFID มีบางประเทศที่มีการใช้ RFID ผ่านทางมือถือ เพื่อสามารถ Tracking ข้อมูลได้ง่ายเงิน
     -> Operating System (OS) ระบบปฏิบัติการในมือถือ เช่น Android OS, iPhone OS, Blackberry OS
            
M-Commerce Business Model

     •Usage fee model
     •Shopping Business Models เช่น การขาย content ต่างๆใน iTune ทั้ง เพลง ภาพยนตร์ หนังสือ application
     •Marketing business Models
     •Improved Efficiency Models
     •Advertising Business Models (Flat fees/Traffic-based fees)
     •Revenue-Sharing Business Models
ตัวอย่างของ M-Commerce
     <> M-Banking

          การทำธุรกรรมผ่านทางมือถือ เช่น การตรวจสอบยอดเงินในบัญชี การโอนเงิน เป็นต้น

     <> iTune
          ถือเป็นการสร้าง E-cro System ของบริษัท Apple โดยเว็บนี้ จะเป็นแหล่งรวบรวม content เช่น เพลง ภาพยนตร์ หนังสือ Application เพื่อให้ผู้ที่ใช้เทคโนโลยีของ Apple สามารถเข้ามาซื้อ content ต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องไปร้านค้า สามารถค้นหาได้ง่าย ไม่มีความเสี่ยงเรื่องไวรัส รวมทั้ง ราคาสมเหตุสมผล ซึ่งถือเป็นจุดได้เปรียบของ Apple ที่ทำให้เจ้าอื่นๆไม่สามารถสู้ได้ เพราะลูกค้ารับรู้ว่า เมื่อซื้อสินค้าของ Apple แล้ว ก็สามารถใช้บริการอื่นๆในเว็บนี้ได้อย่างสะดวกสบายต่อไป

     <> Location-Based Service and Commerce เช่น
          -> Foursqare เป็นประกาศบอกเพื่อนๆและคนที่รู้จักให้รู้ว่าตนเองอยู่ที่ใด โดยการ checkd-in มีประโยชน์ต่อการตลาด เช่น ร้านกาแฟให้ส่วนลดพิเศษแก่ลูกค้าที่ทำการ checkd-in บ่อยที่สุด เป็นต้น
          -> GPS ระบบที่บอกตำแหน่งที่ตนเองอยู่ และบอกเส้นทางในการเดินทาง
          -> บางร้านค้า หรืองานจัดแสดง นำระบบนี้มาใช้ เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาในร้านหรือภายในงาน ก็มีการส่งข้อความต้อนรับเข้ามือถือลูกค้า

     <> Mobile Youtube
          ระบบที่ทำให้มือถือสามารถเปิด youtube ได้

ข้อจำกัดของ M-commerce


Insufficient bandwidth เครือข่ายไม่กว้างพอ เทคโนโลยียังไม่พร้อม
Security standards
Power Consumption
Transmission Interferences
GPS Accuracy
Potential Health Hazards
Human Interface with Device
Small Screens
Reduced memory
Limited Bandwidth
Restricted input capabilities
Cost – it’s readily available; why pay for it?
Trust  ความน่าเชื่อถือว่าเทคโนโลยีจะใช้ได้จริง


รชยา สุธีเชษฐ 5302110092

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613-Weekly Journal] Week 6: E-Business and E-commerce

Week 6: December 14, 2010


         ปัจจุบันมีหลายธุรกิจที่เป็นลักษณะ E-business ซึ่งมีการนำระบบสารสนเทศ (IS) มาช่วยในการดำเนินธุรกิจ โดย E-business จะครอบคลุมเชื่อมโยงในทุกกระบวนการของธุรกิจ ตั้งแต่การซื้อขาย การการผลิต การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จนกระทั่งการแลกเปลี่ยนต่างๆกับ Supply Chain ตัวอย่างของ E-business ในปัจจุบัน เช่น


     - Dell :มีการใช้ Internet ใช้ในการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ทาง dell.com รวมทั้งใช้ในการบริหารจัดการ  Supply Chain ซึ่งสามารถสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันเป็นอย่างดี
     - Amazon : เวปไซต์ขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ท
     - E-Bay :เวปไซต์ที่ประมูลซื้อ-ขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ท




E-commerce Business Model


     - Affiliate Marketing คือการที่บริษัทนำลิงค์ไปวางที่เวปไซต์อื่นๆ เมื่อมีคนเข้ามาซื้อสินค้าโดยเข้ามาผ่านทางการกดจากลิงค์เว็บนั้นๆ เจ้าของเวปไซต์ก็จะได้ค่า commission ด้วย
     - Bartering online เว็บไซต์ที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนกัน ทั้งข้อมูล ความคิดเห็น หรือสินค้าต่างๆ
เช่น craigslist.com
     - Online Advertiser คือการโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Facebook
     - Application Programming Interface (API) การที่บริษัทแห่งหนึ่งผลิตโปรแกรมออกมา แล้วเปิดโอกาสให้อีกบริษัทสามารถพัฒนา software หรือโปรแกรมต่างๆมาใช้งานรวมกันได้ เช่น  YouTube, Google-map,i-phone
     - Social Commerce คือการโฆษณาผ่านทางผู้ที่เคยใช้สินค้าและใกล้ชิดกับลูกค้า เช่น ผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อน ครอบครัว โดยใช้ประโยชน์จากการที่โดยทั่วไปคนมักจะซื้อสินค้าจากการแนะนำผู้ที่รู้จัก




ข้อดีและข้อจำกัดของ E-commerce


ข้อดี


     <ต่อองค์กร>
          - ช่วยในการประหยัดต้นทุน
          - ลดระยะเวลาในการดำเนินงาน
          - ขยายช่องทางจัดจำหน่าย,ฐานลูกค้า
          - สร้างความสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้ในกา่รตัดสินใจ


     <ต่อสังคม>
          - ลดการใช้น้ำมันจากการเดินทาง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ร้านโดยตรง
          - ช่วยประหยัดเวลา สามารถทำอย่างอื่นแทน


     <ต่อลูกค้า>
          - สร้างความสะดวกให้กับลูกค้าในการซื้อขาย หรือติดต่อกับผู้ขาย
          - สามารถเลือกสินค้าได้ตามใจ ได้รับบริการที่รวดเร็ว


ข้อจำกัด


     <เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี>
          - โปรแกรมที่ทางบริษัทใช้ อาจมีลูกค้าบางคนใช้ด้วยไม่ได้
          - เทคโนโลยีมีการพัฒนาตลอดเวลา และอย่างรวดเร็ว


     <ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี>
          - ความปลอดภัยของข้อมูล อาจเกิดการแฮคก์ข้อมูลส่วนตัวทำให้เกิคความเสียหายต่อผู้ใช้
          - ข้อกำหนดบังคับ หรือ ข้อกฎหมาย
          - ลูกค้าไม่มั่นใจในคุณภาพสินค้า หรืออาจเกิดการโกงได้




Is Major EC Mechanisms?


     - Electronic Catalog การทำแคตตาล็อกออนไลน์
     - E-Auction การเปิดประมูลผ่านอินเตอร์เน็ท
     - Bartering & Negotiations เวปไซต์ที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า
     - Electronic Storefronts การขายของทั้งผ่านทางเว็บไซต์ และมีร้านค้าจริง ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไวต์แล้วค่อยไปรับสินค้าที่ร้านได้
     - Electronic Mall ห้างเสมือนจริงในอินเตอร์เน็ท เป็นลักษณะ Virture สร้างตัวละครบนเว็บไซต์ โดยที่ตัวละครนี้สามารถเดินทางภายในเว็บไซต์ที่เสมือนสร้างห้างจริงๆในเว็บไซต์
     - Online Job Market ตลาดงานที่สามรถรับสมัครงานหรือหางานบนอินเตอร์
     - Travel Service สั่งจองหรือสั่งซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวบนอินเตอร์เน็ท เช่น ตั๋วร์เที่ยว ห้องพัก ตั๋วรถ
     - Real Estate Online การหาข้อมูล หรือซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น ตึก บ้าน บนอินเตอร์เน็ท
     - E-Government การทำรายการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐบาลผ่านทางอินเตอร์เน็ท เช่นประมูลงาน, จ่ายภาษี, ประมูลทะเบียนรถ






น.ส. รชยา สุธีเชษฐ 5302110092


วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613-Weekly Journal] Week 5: Information Technology Economic

Week 5: December 7, 2010

         กฎ Moore's Law ได้แสดงถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งเขาได้คาดการณ์ไว้ว่า ความสามารถของชิพในคอมพิวเตอร์จะพัฒนาขึ้นทุกๆ 18-24 เดือนในต้นทุนคงที่ Price-to Performance ในอนาคตจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่า ราคาของเทคโนโลยีจะลดลงในขณะที่ความสามารถในการทำงานจะยิ่งสูงขึ้น

Productivity Paradox

         การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรอาจทำให้เกิด Productivity Paradox คือการที่การการนำเทคโนโลยีมาใช้ในบริษัท แต่ประสิทธิภาพของผลงานที่ได้ (Productivity) กลับเติบโตช้า ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก

     - Productivity เฟรื เกิดผลช้า ต้องใช้ระยะเวลาในการวัดผลงาน
     - การลงทุนใน IT อาจเกิดจากดึงเอางบประมาณของฝ่ายอื่นมา เลยทำให้เกิดการขาดทุนในภาพรวม
     - ต้นทุนในการนำ IT มาใช้สูง
     - ประโยชน์ที่ได้จากการนำ IT มาใช้ อาจใช้เวลานาน
     - การนำ IT มาใช้จริง อาจได้ผลออกมาต่างจากที่คาดการณ์ไว้ ด้วยสาเหตุปัจจัยอื่นๆ เชื่อ ข้อกำหนดต่างๆ หรือเหตุผลอื่นๆ

         ผลกระทบที่เกิดจากการลงทันด้าน IT มีทั้งผลกระทบโดยตรง (direct impact) เช่น การลดต้นทุน และผลกระทบทางอ้อม (second-order impact) เช่น ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ซึ่งหมายความว่า การลงทุนใน IT อาจจะไม่ใช่ว่าจะช่วยเพิ่มประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้ กำไร เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะส่งผลในเรื่องของประสิทธิภาพในด้านการดำเนินงานขององค์กรแทนเช่น การผลิตที่รวดเร็วขึ้น การทำตลาดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เป็นต้น

Evaluating IT Investments

         ก่อนที่องค์กรจะลงทุนใน IT ต้องดูเหตุผลก่อนว่า มีความจำเป็นหรือไม่ ผลที่ได้จากการลงทุนคุ้มค่าหรือไม่ มีงบประมาณเท่าใดในการลงทุน IT ซึ่งเมื่อลงทุนใน IT แล้ว ควรมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการตัดสินใจลงทุน IT

     - Lay an appropriate foundation for analysis, and then conduct your ROI.
     - Conduct a good research on metrics & validate them.
     - Justify, clarify, and document the costs and benefits assumptions.
     - Document and verify all figures used in the calculation and include risk analysis.
     - Is the project really bolstering the company's competitive and strategic advantage?
     - Not to underestimate costs and overestimate benefits
     - Commit all partners, including vendors and top management.

ความยากในการประเมินผล

     - ไม่รู้ว่าจะวัดอะไรดี
     - ระยะเวลาในการวัดผล อาจต้องใช้ระยะเวลานาน
     - ยากที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนใน IT และผลลัพธ์ที่ได้ในมุมของภาพรวมองค์กร
     - วัดออกมาเปิดตัวเิงินยาก
     - ไม่สามารถวัดออกมาเป็นผลเชิงคุณภาพ

แนวทางในการวัดผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (Intangible Benefits)

     - ประมาณการผลประโยชน์ที่ได้ให้เป็นตัวเงินอย่างคร่าวๆ
     - ดูว่าเกี่ยวกับกลยุทธ์อย่างไร มีประโยชน์ทางการเงินอย่างไร
     - มองเฉพาะผลประโยชน์ที่ได้ในระยะสั้นก่อนแลัวค่อยมองผลประโยชน์ระยะยาวต่อไป
     - คอยดูผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนใน IT และโอกาสที่จะพัฒนา IT ต่อไป

ต้นทุนที่เกิดจากการลงทุน IT

     - Fixed cost ประกอบไปด้วย
           > Infrastructure cost ต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานของ IT
           > Service Cost ต้นทุนจากการรับบริการ
     - Transaction Cost
           > Search ต้นทุนในการหาผู้ที่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่เฉพาะได้
           > Information ต้นทุนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อบังคับ เงื่อนไขเรื่องการเงิน และลักษณะความต้องการขององค์กร
           > Negotiation ต้นทุนเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง
           > Decision ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผู้ซื้อ และกระบวนการภายในของผู้ซื้อ เช่น การอนุมัติการขาย
           > Monitoring ต้นทุนที่เกี่ยวกับการควบคุมการส่งสินค้าและบริการที่ได้รับ

รายได้ที่ได้จาก IT&Web

     - Sales รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการทางออนไลน์
     - Transaction fees รายได้จากการให้บริการรายครั้งการให้บริการ
     - Subscription fees รายได้การการให้ลูกค้าบริการเป็นรายเดือน เช่น ให้บริการหน้าเว็บขายของ
     - Advertising fees รายได้จากการโฆษณา
     - Affiliate fees

วิธีการตัดสินใจการลงทุนใน IT

              หลักการสำคัญในการตัดสินใจลงทุนใน IT คือ Cost-Benefit Analysis คือ การเปรียบเทียบระหว่าง ต้นทุนที่เกิดขึ้น (Cost) และ ประโยชน์ที่ได้ (Benefit) ว่าคุ้มค่าหรือไม่ โดย Cost ประกอบไปด้วย ต้นทุนการพัฒนา, ต้นทุนการติดตั้ง IT, และต้นทุนการทำให้ IT ทำงานได้ และ Benefit ประกอบไปด้วย Direct benefits, Assessable indirect benefits, Intangible benefits เทคนิคท่นำมาช่วยในการตัดสินใจมีดังนี้

      <> Projects & Cash Flow Project เป็นการประมาณการกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้ในอนาคต โดยใช้เครื่องมือกับการเงิน อย่าง NPV, Payback period, ROI, Net Profit, IRR

      <> TCO คือ การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้ หรือ Total cost and benefit of ownership

      <> Balanced scored method เป็นการพิจารณาผลกระทบทั้ง 4 ด้ายคือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร


Where costs of IT investment go?

     - Overhead: ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ที่จะถูกปันไปในแผนกต่างๆ
     - Charge back: เพิ่มราคาการให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อนำรายได้มาชดเชยแทน
 
Major Managerial Issues

     - เทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา
     - ผลประโยชน์อาจเปลี่ยนจากสามารถจับต้องได้ กลายเป็นจับต้องไม่ได้
     - ไม่มีอะไรแน่นอน ต้องมีการวัดผลอยู่เสมอ
     - การกำหนดค่าใช้จ่ายที่จะนำไปคิดกับลูกค้า
     - โอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
     - วิธีการวัดมูลค่าการลงทุนใน IT
     - ผู้ที่ทำการตัดสินใจในการลงทุน IT



นส. รชยา สุธีเชษฐ 5302110092

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[AI613-Weekly Journal] Week 4: -Outsourcing- & -Acquiring and Developing Business Applications and Infrastructure-

Week 4: November 30, 2010

Outsourcing IT

ข้อดี
     - เพื่อให้บริษัทสามารถเน้นทำงานหลักได้มากขึ้น
     - ช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าการทำ้เอง
     - มีคุณภาพมากกกว่าทำเอง เพราะบริษัทมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่า
     - เพื่อความเร็วในการเข้าสู่ตลาด
     - บริษัทอื่นมีนวัตกรรมที่ใหม่กว่า

ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการ Outsourcing
     - ค่าวิเคราะห์, เปรียบเทียบ
     - ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
     - การส่งผ่านความรู้
     - การจัดการเรื่องทักษะของบุคลากร
     - ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับ ในกรณีที่เกิดปัญหา

การวางกลยุทธ์จัดการความเสี่ยงในการ Outsourcing
     - เข้าใจในโครงการอย่างชัดแจ้ง เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ต้องการจริงๆคืออะไร
     - ถ้าเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ สามารถแบ่งทำเป็นทีละส่วนไป
     - สร้างแรงจูงใจ หรือให้รางวัลกับผู้ที่ทำงาน
     - เขียนสัญญาระยะสั้น เพื่อเป็นการบังคับให้เกิดการทำจริง
     - หากบริษัทที่รับ Outsourcing ไปจ้่าง Outsourcing อีกทีนั้น ก็มีการร่วมเข้าไปควบคุมอีกที
     - เลือก Outsourcing ใน่วนที่ไม่ใช่แก่นของธุรกิจ

ความเสี่ยงที่เกิดจากการ Outsourcing
     - การ Outsourcing ไม่ได้สามารถช่วยในการลดต้นทุนจริง
     - ข้อมูลสามารถรั่วไหลออกไปได้
     - กระบวนการในส่วนที่นำไป Outsourcing บริษัทไม่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้อีก
     - ผู้รับ Outsourcing เข้ามารับรู้กระบวนการทำงานใบริษัท
     - ผู้รับ Outsourcing ทำงานผิดพลาด
     - เกิดความต้องการมากกว่าที่เคยได้ตกลงกันไว้

งานที่ไม่ควร Outsourcing
     - งานที่ไม่ได้เกิดประจำวัน
     - งานที่อาจทำให้สุญเสียการควบคุมในกรดำเนินงานมากเกินไป
     - งานที่มีความเสี่ยงสูงที่ข้อมูลจะัไหลออกจากบริษัท
     - งานที่มีต้องใช้ความรู้เชื่ยวชาญ และความรู้ด้าน IT

ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินเลือกระหว่าง Outsourcing IT VS Insourcing IT
     1. ขนาดของบริษัท หากบริษัทมีขนาดใหญ่พอที่จะหาพนักงานที่มีทักษะก็ไม่ควรจะทำการ Outsourcing
     2. ต้นทุนที่เกิดระหว่าง Outsourcing VS Insourcing
     3. ระดับความสนใจของผู้บริหารระดับสูง หากมีความสนใจใน IT สามารถดูเลงเองได้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง Outsourcing
     4. สภาพทางการเงินของบริษัท

Acquiring and Developing Business Applications and Infrastructure

ขั้นตอนการจัดหา IT Application

Step 1: Planing, identifying, and justifying IT Based systems
           วางแผนระบบพื้นฐาน IT ภายในระบบให้ชัดเจน เป็นขั้นตอนที่ต้องทำด้วยเองเท่านั้น

Step 2: Creating an IT architecture 
           สร้างโครงสร้างพื้นฐานภายในบริษัทในการนำนำระบบ IT มาใช้จริง
          
Step 3: Selecting an acquisition option
           เลือกวิธีการจัดหา เช่น การซื้อ การเช่า เป็นต้น

Step 4: Testing, installing, integrating and deploying IT applications
           ติดตั้ง และทดลองใช้ระบบ

Step 5: Operations, maintenance and updating
            นำระบบใช้จริง ดูแลรักษา และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ



น.ส. รชยา สุธีเชษฐ 5302110092

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613-Case] Dollar General Uses Integrated Software

1.Explain why the old, nonintegrated functional system created problems for company. Be specific.

    A: ก่อนที่ Dollar General จะมีการนำ Software มาใช้นั้น ในแต่ละฝ่ายมีปัญหามากมาย ดังนี้
        1. การขยายสาขาในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของภาษีที่จะเกิดขึ้น เพราะในแต่ละพื้นที่มีกฎหมายภาษีไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิด 
        2. ในด้านการจัดการเป็นไปได้ยาก เพราะข้อมูลที่ได้ช้า ทำให้การยากต่อการดำเนินงานให้องค์กรเจริญเติบโต
        3. แผนกบัญชีมีการจัดการเรื่องของคำสั่งซื้อ (purchasing orders), ใบเสนอราคา(invoice), ใบเสร็จรับเงิน (bill) ก่อนที่จะมีการจ่ายจริง
        4. แผนก IT มีปัญหาเรื่องของการทำรายงานที่มีปริมาณมาก ทั้งหัวข้อและปริมาณข้อมูล



2. The new system cost several million dollars. Why, in your opinion,was it necessary to install it?

    A: เนื่องจากก่อนหน้าที่จะมี Software นั้น Dollar General มีปัญหาต่างๆมากมาย ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อแรก และการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรช้า มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย การบันทึกและเรียกดูข้อมูลทำได้ยาก กลายเป็นข้อเสียเปรียบในการแข่งขัน (competitive disadvantage) นอกจากนี้ IT ยังสามารถช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำ IT มาใช้ในองค์กร แต่ก็คุ้มค่าต่อการลงทุน



3. Lawson Software Smart Notification Software (lawson.com) is being considered by Dollar General. Find information about the software and write an opinion for adoption or rejection.

    A: Smart Notification เป็น Software ที่ช่วยในการจัดการข้อมูล ทั้งการควบคุมแหล่งที่มาข้อมูล คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น วิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ และง่ายต่อการเข้าใจ รวมทั้งเสนอข้อมูลได้ถูกต้องในเวลาที่ถูกต้อง ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า Dollar General ควรนำระบบนี้มาใช้ เพราะด้วยขนาดบริษัทที่ใหญ่ และมีจำนวนสาขามาก ซึ่งมีข้อมูลมหาศาล แต่ระบบนี้จะช่วยประหยัดเวลาในการบันทึกข้อมูล คัดกรองข้อมูล  ดึงข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล และช่วยให้สามารถทำการตัดสินใจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น




4. Another new Product of Lawson is Services Automation. Would you recommend it to Dollar General? Why or Why not?

    A: Services Automation เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการงาน แหล่งทรัพยากร เวลา ค่าใช้จ่าย และการเงิน จากโอกาสในการขายที่ช่วยเพิ่มยอดรายได้ โดย Services Automation มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Opportunity management ช่วยในการจัดการการดำเนินงาน ตรวจสอบรายได้ และวิเคราะห์ถึงความสามารถ, Project Management ช่วยวิเคราะห์กลยุทธ์ในการลงทุนและโอกาส และ Resource Management ช่วยในการวิเคราห์ปริมาณของแหล่งทรัพยากร และความสามารถในการผลิต
        จากความสามารถของ Services Automation ที่กล่าวมานี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า Dollar General ควรนำ Services Automationมาใช้ในองค์กร เพราะ ด้วยขนาดและสาขาที่มีมาก ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่มีมหาศาล รวมทั้ง ในสภาพอุตสาหกรรมที่ต้องการความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (competitive advantage) ระบบนี้ทำให้นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยในการประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจ

Source: http://www.lawson.com/wcw.nsf/pub/ses_ED9066



น.ส. รชยา สุธีเชษฐ 5302110092

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613-Weekly Journal] Week 3: Transaction Processing System

Week 3: November 22, 2010
         Transaction Processing System (TPS) หรือ ระบบสารสนเทศสำหรับประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง เป็นระบบที่ใช้กับ Transaction ซ้ำๆทุกวัน เป็นระบบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศขององค์กร เพราะเป็นระบบที่บันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นทุกอย่างภายในองค์กร หากข้อมูลในระบบนี้เกิดความผิดพลาด หรือเสียหาย ก็ส่งผลต่อระบบประมวลผลในระบบสารสนเทศอื่นได้ข้อมูลที่ผิดพลาดต่อไป

ลักษณะที่สำคัญของ TPS
         1. Reliability ข้อมูลที่ได้ต้องมีความน่าเชื่อถือ ทุกข้อมูลได้มีการบันทึกไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน และระบบดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
         2. Standardization ข้อมูลที่ได้มีความเป็นมาตรฐาน ในการบันทึกมีการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะทำการบันทึก เช่น รหัสสินค้าใส่ได้เฉพาะตัวเลขตามจำนวนหลักที่ให้เท่านั้น
         3. Controlled Access มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูล สามารถให้เฉพาะผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ สามารถเข้าไปดูหรือแก้ไขได้

คุณสมบัติของ TPS
     - มีการประมวลผลข้อมูลเป็นจำนวนมาก
     - แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในองค์กร 
     - มีการประมวลผลอย่างเป็นประจำ
     - สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก
     - มีความซับซ้อนในการคำนวณน้อย แต่ผลที่ประมวลควรมีความน่าเชื่อถือสูง
     - มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
     - ข้อมูลที่บักทึกและผลที่ประมวลออกมาควรมีโครงสร้างที่ชัดเจน

วงจรการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลง


Data Entry
         ขึ้นตอนแรกของวงจรนี้คือ การใส่ข้อมูลลงในระบบ

Transaction Processing
         คือการประมวลผลข้อมูล มี 2 รูปแบบคือ
     - Real-time เป็นการประมวลผลทันทีที่เกิดรายการ (Online)
       ข้อดี: ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน เหมาะกับความต้องการแบบทันที สามารถแชร์ข้อมูลได้ทั่วองค์กร
     - Batch เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นและนำไปประมวลผลพร้อมกันในภายหลัง
       ข้อดี: ประหยัดต้นทุนระบบ ระบบไม่ต้องทำงานตลอดเวลา

Database Updating
         การบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล และการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูล

Document and Report Generation
         การออกรายงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น Invoice สำหรับรายงานที่ได้ไม่ควรรายงานข้อมูลที่มีการวิเคราะห์แล้ว รายงานที่ได้ควรเป็นข้อมูลธรรมดา รายงานสถานะที่เกิดขึ้นอยู่ 

Inquiry Processing
         การรับคำร้องสอบถามข้อมูล เป็นระบบที่ผู้ใช้สามารถถามระบบผ่านอินเตอร์เน็ท อินทราเน็ท ตลอดทั้งระบบจัดการฐานข้อมูล โดยนำเสนอในรูปแบบเอกสารพิมพ์ หรือทางหน้าจอ เช่น การร้องขอตรวจสอบยอดคงค้างในบัญชีลูกค้า

วัตถุประสงค์
     - เพื่อตอบคำถามที่เกิิดขึ้นประจำวัน
     - เพื่อติดตามรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กร
     - เพื่อผลิตและเตรียมข้อมูลเพื่อระบบสารสนเทศอื่น



น.ส. รชยา สุธีเชษฐ 5302110092

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613-Case] Building an E-Business at Fedex Coporation

1. Identify the network cited in this case
    A: มีทั้งหมด 4 อย่างคือ
        1. Virtual private network(VPN) เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมเครือข่ายกันระหว่างภายในและัภายนอกองค์กร โดยมี Internet เป็นตัวเชื่อม และมีระบบรหัสเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหลออกไป เพื่อให้การติดต่อกันมีความคล่องตัว
        2. Internet 
        3. Leased-line คือ บริการเส้นทางการสื่อสารส่วนบุคคลแบบดิจิตอล ที่เชื่อมโยงการรับส่งข้อมูล ภาพ และเสียง ด้วยการใช้โครงข่ายใยแก้ว นำแสงดิจิตอล ในอัตราความเร็วคงที่
         4. Value-added network (VAN) เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อสื่อสารปกติผู้ ให้บริการสื่อสาร (Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN อย่างไรก็ตาม VAN เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายสาธารณะ 



2. How does IT improve the performance of Fedex?
    A: ผลจาก Fedex นำ IT มาใช้ในการทำงานนั้น มีดังนี้
        1. ทำให้การดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะ IT ช่วยทำให้ข้อมูลที่ไหลเข้ามาและออกไปนั้นมีความรวดเร็ว และแม่นยำ
        2.สร้างความพึงพอให้กับลูกค้า ด้วยการบริการที่มีความหลากหลาย ความรวดเร็ว แม่นยำ ราคาสามารถรับได้ ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับบริการ และใช้บริการของ Fedex มากยิ่งขึ้น
        3. สร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Competitive Adventage) รวมทั้ง สร้างรายได้และกำไรมหาศาล



3. In what ways are personailization and customization provided?
    A: บริการที่หลากหลายของ Fedex ที่มีตั้งแต่บริการส่งของทั่วไป รับเป็นผู้ส่งสินค้าให้กับ Supply Chain ของบริษัท มีบริการขาย Hardware/Software ที่สนองความต้องการด้านการขนส่งให้แต่ละบริษัท ซึ่งช่วยลดต้นทุนให้กัีบลูกค้าภาคองค์กรธุรกิจ นอกจากนี้ Fedex สามารถทำให้ลูกค้าวางใจได้ด้วยบริการตรวจสอบสถานะของวัสดุที่ส่งได้อีกด้วย



4. What are the benefit to the customer?
    A: ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจาก Fedex มีดังนี้
        1. รายทั่วไป ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่รวดเร็ว เชื่อถือได้ และอยู่ในราคาที่สามารถรับได้
        2. ภาคธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เพราะบริษัทไม่มีความจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีการพัฒนาการขนส่งรวดเร็ว รวมทั้งการขนส่งสินค้าจะเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเชื่อถือไปอีกด้วย




น.ส. รชยา สุธีเชษฐ 5002460516

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[AI613-Weekly Journal] Week 2: Understanding and Managing Information Technologies

Week 2: November 16, 2010

                ปัจจุบัน กระบวนการภายในธุรกิจกือบทั้งหมดมีระบบสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น เช่น ธุรกิจเครื่องสำอางค์ขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ท เช็คสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ทได้ เป็นต้น

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศต่อธุรกิจ
- ทำให้ Business Process ทำงานได้คล่องขึ้น
- ทำให้เกิดความคิดใหม่ๆให้กับธุรกิจ

ความสัมพันธ์ระหว่าง Data, Information, Knowledge
                Data เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ไม่สามารถบอกอะไรได้ ไม่มีความหมายในตัวเอง ต้องผ่านกระบวนการประมวลผลเพื่อเป็น Information ซึ่งสามารถช่วยในการตัดสินใจ นำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้ และเมื่อนำ Information มาผ่านกระบวนการลองทำจริง วัดประเมินผล ทำให้กลายเป็น Knowledge

ระดับของ Information System
1 .Personnal and Productivity System
                ระบบสารสนเทศที่สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้งานส่วนบุคคล

2. Transaction Processing System
                ระบบสารสนเทศสำหรับการบันทึกข้อมูล (Data) ภายในองค์กรทั้งหมด เป็นระบบสารสนเทศที่มีอยู่เกือบทุกองค์กร ใช้งานมากที่สุด และมีความสำคัญมากที่สุด เป็นเป็นระบบที่เก็บข้อมูลทุกอย่างของทุกฝ่ายในองค์กรเอาไว้ เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น แผนกบัญชีเก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อทำงบการเงิน นำไปวัดประเมินผลการดำเนินงาน, แผนกจัดการทรัพยากรบุคคล เก็บข้อมูลพนักงานเอาไว้ เพื่อดูผลการทำงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ระบบสารสนเทศ ทุกระบบ หากข้อมูลจาก TPS มีความผิดพลาด อาจส่งผลให้ข้อมูลที่ได้ใน ระบบสารสนเทศ ส่วนอื่นก็จะผิดพลาดไปด้วย

3. Functional and Management Information System
                ระบบสารสนเทศใช้ภายในหน่วยงานนั้นๆ ตัวอย่างเช่น
            - Management Information System (MIS) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้จัดการระดับการ จุดประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลมาใช้เปรียบเทียบ และใช้ในการตัดสินใจ ซึ่ง Mระบบสารสนเทศ ทำเพียงแค่รายงานผลออกมา ไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นมากจนเกินความจำเป็น ผลของ Mระบบสารสนเทศ นำมากจากข้อมูล TPS ซึ่ง ถ้าหาก TPS บันทึกข้อมูลผิดพลาด ก็จะทำให้ผลของ Mระบบสารสนเทศ ผิดพลาดตามไปด้วย
            - Decision Support System (DSS) ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ โดยนำวิธีการทางสถิติเข้ามาช่วย ทำให้ได้ข้อมูลที่มากกว่าการมองด้วยตาเปล่า แตกต่างกับ Mระบบสารสนเทศ ตรงที่ Mระบบสารสนเทศ เป็นการนำข้อมูลภายในองค์กรเพียงอย่าเดียวมาประมวลแสดงผลเท่านั้น ไม่ได้ทำการตัดสินใจเอง แต่ DSS นำข้อมูลจากภายนอกองค์กรมาประกอบ พร้อมทั้งทำการการตัดสินใจด้วย แต่ผลที่ออกมาไม่ได้หมายความว่า ถูกต้อง สมบูรณ์เสมอไป
            - Group Decision Support System (GDSS) ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการแสดงข้อมูลต่างๆพร้อมกันทุกคนในที่ประชุม ซึ่งช่วยในการตัดสินใจที่เป็นกลุ่มมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความขัดแย้งภายในการประชุม
            -Executive Support System (ESS) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง นำข้อมูลมาจากภายนอกองค์กร(TPS) และ Mระบบสารสนเทศ แสดงผลการดำเนินงานที่เป็นกราฟ ดูง่าย มี dashboard ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านข้อมูลของผู้บริหารที่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่แล้ว

4. Enterprise System
                ระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมข้อมูลจากทุกส่วนภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ตัวอย่างเช่น
            - Supply Chain Management System ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบริหาร Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งสาย ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้า การผลิต การส่งขายหรือส่งสินค้า.
            - Customer Relationship Management (CRM) ระบบสารสนเทศใช้ในการจัดการลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจทั้งลูกค้าใหม่ และรักษาลูกค้าประจำเอาไว้
            - Software at a service (SASS) หรือ Cloud Computing (การประมวลกลุ่มเมฆ)
            - Knowledge Management System ระบบสารสนเทศที่เก็บองค์ความรู้ต่างๆในองค์กร เพื่อให้สามารถแบ่งปันความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กรทุกคน สามารถนำไปแตกยอดต่อ และรักษาไม่ให้ความรู้หายไปพร้อมกับพนักงานที่ลาออกไป รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการ training พนักงานใหม่

5.Interorganizational System
                ระบบสารสนเทศที่เชื่อมข้อมูลหน่วยงานหรือองค์กรระหว่างประเทศ เช่น บริษัทมีสาขาอยู่ที่ต่างประเทศ เป็นต้น ตัวอย่างของระบบสารสนเทศ เช่น
            - Intranet ระบบอินเตอร์เน็ทภายในองค์กร
            - Extranet ระบบอินเตอร์เน็ทระหว่างองค์กร เป็น Network เชื่อมข้อมูลระหว่างองค์กร มีความปลอดภัยมากกว่า Internet
            - Collaboration and Comunication System ระบบที่ใช้สื่อสารกันภายในองค์กร ซึ่งรวมถึง E-mail, Instant Message(IM), Cell phones, Social networking, Wiki, Virtual world

6. Global System
                ระบบสารสนเทศที่เชื่อมกันทั่งโลก ใช้อินเตอร์เน็ทเป็นตัวกลาง เช่น
            - E-Business เช่น การซื้อขายออนไลน์ E-commerce
            - E-Government เช่น การซื้อทะเบียนเลขสวย หรือการเสียภีผ่านทางอินเตอร์เน็ท

7. Very Large and Special System

Information System Department
                หน่วยงานด้านระบบสารสนเทศในองค์กร เป็นหน่วยงานแนวนอนที่ช่วยสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆภายในองค์กร ตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงานนี้คือ Chief Information Officer (CIO) เป็นผู้บริหารที่ควบคุมดูแลด้านนี้โดยตรง บางครั้งเรียกว่า Chief Technology Officer (CTO) แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญในหน่วยงานนี้สักเท่าไหร่

เพิ่มเติม
            - Web 2.0 : เป็น  www ที่มีผู้คนทั่วไปเป็นผู้สร้างสรรค์เผยแพร่ผลงานออกมา ไม่จำเป็นแต่ว่าฝ่ายบริษัทผู้ผลิตจะเป็นฝ่ายออกผลงานอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Youtube,Twistter
            - Web 3.0 : Intelligent  web ที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริง สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก โดยที่มีตัวช่วยในการแปลภาษา
          - Virtualization : ความพยายามที่จะทำให้ Server ของแต่ละ Software มารวมกัน ลดความซับซ้อนและยุ่งยากในการจัดการ

IT Hype Presentation
                1. กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic paper or E-Paper) เทคโนโลยีที่แสดงผลเลียนแบบลักษณะการใช้หมึกพิมพ์บนกระดาษปกติ มีคุณสมบัติเหมือนกระดาษ สามารถบันทึกข้อความและภาพได้ มีความอ่อนตัวได้ แต่ ต่างจากกระดาษปกติที่สามารถลดแก้ใส่ข้อมูลใหม่ได้ ทำให้สามารถลดการใช้กระดาษได้
                2. Tablet PC คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพามากขึ้น ใช้ปากกา และลายมือการเขียนในการคีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น iPad
                3. Green IT (เทคโนโลยีสารสนเทศสีเขียว) แนวคิดในการบริหารจัดการและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ IT ภายในองค์กรโดยใส่ใจสิ่งแวดล้อม




น.ส. รชยา สุธีเชษฐ 5302110092